พ.ร.บ. รถยนต์ทำแล้วเบิกอะไรได้บ้าง

Last updated: 2 ก.ย. 2562  |  2666 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พ.ร.บ. รถยนต์ทำแล้วเบิกอะไรได้บ้าง

พ.ร.บ. รถยนต์ทำแล้วเบิกอะไรได้บ้าง

การประกันภัยภาคบังคับ หรือที่เรียกกันว่า ประกันภัย พ.ร.บ. คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  ซึ่งรถทุกคันต้องทำ และในกรณีเกิดอุบัติเหตุมีคนเจ็บ หรือเสียชีวิตสามารถเบิกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้

ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ. (ไม่มีคู่กรณี)

กรณีที่ไม่มีคู่กรณี พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ หรือค่าทำศพในกรณีเสียชีวิต ที่ไม่ต้องรอการพิสูจน์ เราจะเรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” โดยบริษัทประกันจะชดเชยแก่ผู้ประสบภัยหรือทายาท (หากเสียชีวิต) ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ได้รับคำร้อง

  1. กรณีบาดเจ็บจะได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  2. กรณีเกิดความเสียหายต่อร่างกายเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จะได้รับค่าความเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท/คน ซึ่งได้แก่ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว เสียอวัยวะอื่นใด จิตพิการอย่างติดตัว พิการอย่างถาวร
  3. กรณีบาดเจ็บแล้วได้รับค่ายเสียหายเบื้องต้นทั้งข้อ 1 และ 2 รวมกันไม่เกิน 65,000 บาท/คน
  4. กรณีเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพจำนวน 35,000 บาท/คน
  5. กรณีเสียชีวิตหลังจากการรักษาพยาบาลจะจ่ายตามข้อ 1 ด้วย แต่รวมกันไม่เกิน เกิน 65,000 บาท/คน

ค่าเสียหายเบื้องต้น (มีคู่กรณี)

สำหรับความเสียหายตั้งแต่ 2 คันขึ้นไป (เฉี่ยวชน) ทำให้ผู้ขับขี่ หรือผู้ที่โดยสารมากับรถได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต บริษัทประกันของแต่ละคันจะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่รถที่ได้ทำประกันไว้ แต่หากผู้ประสบอุบัติเหตุไม่ได้อยู่ในรถคันคันใดคันหนึ่ง ให้บริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายในอัตราส่วนที่เท่ากัน

การใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
ผู้ประสบอุบัติเหตุต้องยื่นเรื่องภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ โดยมีเอกสารประกอบดังนี้

1.กรณีบาดเจ็บ
  • 1.1 ใบสร็จรับเงินจากโรงพยาบาล หรือใบแจ้งหนี้
  • 1.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้
2.กรณีเสียชีวิต
  • 2.1 สำเนามรณบัตร
  • 2.2 สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
  • 2.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้

เงินชดเชย (ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น)
บริษัทจะชดใช้เงินเพื่อทดแทนความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต ของผู้ทำ พ.ร.บ.และผู้ทำประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฏหมายต่อผู้ได้ประสบอุบัติเหตุ มีดังนี้

  1. ผู้ได้ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่สูญเสียอวัยวะจะได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  2. กรณีเกิดความเสียหายต่อร่างกายเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง จะได้รับเงินเต็มจำนวนของการคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท/คนได้แก่ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว เสียอวัยวะอื่นใด จิตพิการอย่างติดตัว พิการอย่างถาวร
  3. กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินเต็มจำนวนของการคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท/คน
  4. กรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในฐานะเป็นคนไข้ในจะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท แต่ไม่เกิน 20 วัน (เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นจากการคุ้มครองดังกล่าว)

เห็นจากผลประโยชน์และความคุ้มครองที่ได้รับจากการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ มันมีประโยชน์มากกว่าโทษ หรือบางคนอาจคิดว่าทำเพื่อที่จะไม่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับปรับ (ซึ่งตอนนี้ถ้าไม่มีพ.ร.บ. ตำรวจสามารถยึดรถชั่วคราวได้) และวันนี้รถยนต์ของคุณมีแล้วหรือยัง

 

Cr: thaicarlover.com, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้